ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

จะดีกว่ามั้ย ถ้าเรารู้ว่า...ทุกอาหารเป็นยา ถ้ากินเป็น

 จะดีกว่ามั้ย ถ้าเรารู้ว่า...

"ทุกอาหารเป็นยา ถ้ากินเป็น"


ภาพประกอบที่ 1 ภาพแคปหน้าจอภาพหน้าปก e-book


เราคงไม่ปฏิเสธนะคะ ว่าทุกชีวิตอยู่ได้ด้วยอาหาร อาหารช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและแข็งแรง อาหารที่เรากินอยู่ทุกวันนี้ บางคนกินตามหลักโภชนาการ บางคนกินตามความชอบ บางคนกินตามความสะดวก ไม่ว่าเราจะกินอาหารด้วยเหตุผลใดก็ตาม สิ่งที่กินเข้าไปย่อมมีผลต่อสุขภาพร่างกายของเราอย่างแน่นอน


หากกินตามหลักโภชนาการ แบบนี้ไม่ค่อยน่าเป็นห่วง เพราะผู้กินดูแลใส่ใจสุขภาพ น่าจะเป็นผู้มีสุขภาพที่ดี แต่ในสภาพสังคมปัจจุบันที่หลาย ๆ คนเร่งรีบ ดำเนินชีวิตแข่งกับเวลา เผชิญความกดดันหลายอย่าง การกินอาหารตามความสะดวก หรือตามความชอบ อาจนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บโดยไม่รู้ตัว มารู้อีกทีก็ต้องเข้าโรงพยาบาลอยู่ในการดูแลของแพทย์ หากเป็นเช่นนั้นเราคงไม่มีความสุขแน่ ๆ จริงไหมคะ


ผู้เขียนเองก็เคยใช้ชีวิตแบบเร่งรีบ กินอะไรตามใจปาก เอาที่สะดวกเช่นกัน แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งที่เห็นคนรอบข้างมีสุขภาพไม่ดี ต้องหาหมอ ต้องกินยาตลอด ทำให้ผู้เขียนเริ่มหันมาใส่ใจกับสุขภาพตัวเอง และพบว่าอาหารก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีผลโดยตรงต่อสุขภาพของเรา


พระเอกที่เราจะพูดถึงในวันนี้ คือ 

e book ที่ชื่อว่า 

"ทุกอาหารเป็นยา ถ้ากินเป็น"

e-book เล่มนี้ พูดถึงพืช ผัก นานา ชนิดที่ใช้ปรุงอาหาร นอกจากความสด สะอาด ปราศจากสารเคมีที่เราให้ความสำคัญแล้ว เพื่อน ๆ รู้ไหมว่า พืช ผัก แต่ละชนิดยังมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน บางชนิดที่เราเคยได้ยินมาว่ามีประโยชน์มากมาย แต่ในความเป็นจริง พืชผักชนิดนั้นอาจไม่เหมาะกับเราก็เป็นได้


จะดีกว่ามั้ย ถ้าเรารู้ว่า... พืชผักแต่ละชนิดมีประโยชน์อย่างไร ใครควรกินหรือใครควรหลีกเลี่ยง เพื่อที่เราจะได้กินอย่างเหมาะสมกับตัวเรา ผักชนิดนั้นก็จะกลายเป็นยารักษาหรือยาบำรุงสุขภาพร่างกายของเราได้เป็นอย่างดี นี่จึงเป็นที่มาที่อยากแนะนำให้เพื่อน ๆ ได้รู้จัก e-book ที่ชื่อว่า "ทุกอาหารเป็นยา ถ้ากินเป็น" เล่มนี้ค่ะ  


รายละเอียดของ e-book

  • ชื่อ e-book ทุกอาหารเป็นยา ถ้ากินเป็น


  • ชื่อผู้เขียน ทัทยา อนุสสร


  • สำนักพิมพ์ มติชน


  • ประเภทไฟล์ PDF 47.64 MB


  • แอปที่ใช้อ่าน Hytexths


  • จำนวนหน้า 320 หน้า


  • ราคาปก 230 บาท



ภาพประกอบที่ 2 

ภาพประกอบจาก Pixabay.com


"ทุกอาหารเป็นยา ถ้ากินเป็น" เป็น e-book ที่อธิบายถึงคุณสมบัติของพืชผัก จำนวน 50 ชนิด โดยให้ความรู้ตามหลักวิชาการ ผสมผสานกับการนำไปใช้ได้จริง รูปแบบการอธิบายแบ่งเป็นหัวข้อที่ชัดเจน ทำให้เข้าใจง่าย ดังนี้

  • ชื่อผัก อธิบายคุณลักษณะของผักชนิดนั้น ๆ 

  • เหตุผลที่ควรกิน ผักชนิดนี้ดีอย่างไร

  • รู้หรือเปล่า เคล็ดลับในการบริโภค

  • เป็นยาอะไร ใช้รักษาอาการใด

  • ทำอะไรกินดี ยกตัวอย่างเมนู และบอกสูตรวิธีทำเมนูนั้น ๆ


สำหรับผู้เขียนเอง เมื่อได้อ่าน "ทุกอาหารเป็นยา ถ้ากินเป็น" เล่มนี้แล้ว บอกเลยว่ามีประโยชน์มาก ๆ เพราะคุณทัทยา ผู้เขียน e-book เขียนโดยใช้รูปแบบที่ชัดเจน อ่านเข้าใจง่าย มีหลักวิชาการ อธิบายการนำไปใช้จริง ใส่เคล็ดลับ มีเมนูที่แนะนำว่าควรจะนำไปทำอาหารอะไร เป็นต้นว่า


ใบยอ เป็นพืชพื้นบ้าน มีชื่อที่เป็นมงคล ราคาถูก ปลูกง่าย มีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย มีวิตามิน A และแคลเซียมสูงมาก เคล็บลับคือ ใบยอควรกินพร้อมอาหารที่มีไขมัน เพราะวิตามิน A จะละลายในไขมัน ดังนั้น หากนำไปทำห่อหมกใบยอซึ่งมีกะทิ (ไขมันจากกะทิจะช่วยละลายวิตามิน A) ร่างกายก็จะได้รับประโยชน์จากวิตามิน A อย่างเต็มที่


ภาพประกอบที่ 3 

ภาพจาก Pixabay.com


การออกแบบรูปเล่ม

หน้าปกดูสดใส เป็นรูปผักสด ให้ความรู้สึกสดชื่น ดีต่อใจ น่าอ่าน 

มีปกหน้า ใบรองปก ปกใน หน้าลิขสิทธิ์ คำนำของ สนพ. คำนำของผู้เขียน สารบัญ รูปภาพประกอบ เลขหน้าครบถ้วน ตามมาตราฐานของหนังสือทั่วไป

การจัดวางเนื้อหา แยกเป็นผักแต่ละชนิด มีรูปแบบ หัวข้อเรื่องชัดเจน ทำให้ง่ายต่อการอ่าน 

ภาพประกอบ ภาพถ่ายอาหาร บางภาพเป็นภาพสี บางภาพเป็นขาวดำ


ภาพประกอบที่ 4

ภาพจาก Pixabay.com


"ทุกอาหารเป็นยา ถ้ากินเป็น"

e-book เล่มนี้ เป็นเล่มที่ชอบมาก เพราะอ่านง่าย นำมาใช้ได้จริง เราเคยรับรู้กันมาว่า พืชผักสมุนไพรมีประโยชน์ แต่เมื่อได้อ่านเล่มนี้แล้วจะทำให้เรารู้ว่าที่มีประโยชน์นั้น มีประโยชน์อย่างไร และควรกินอย่างไรจึงจะได้รับประโยชน์เต็มที่

หากเรากินพืชผักสมุนไพรไม่ถูกวิธี ก็อาจจะเป็นโทษก็ได้เช่นกัน

ดังนั้น… จะดีกว่ามั้ย ถ้าเรารู้ว่า...

"ทุกอาหารเป็นยา ถ้ากินเป็น"


นอกจากดูแลอาหารเพื่อร่างกายแล้ว เพื่อน ๆ อย่าลืมหาเวลาว่างทำในสิ่งที่รักเพื่อเป็นอาหารใจด้วยนะคะ ผู้เขียนขอตัวไปทำงานประดิษฐ์จากดินไทย เพื่อเสริมกำลังใจก่อนนะคะ


ขอบคุณมากค่ะ



#รับเขียนบทความ #รับรีวิวสินค้า

#สอนทำจำปีจำปาจากดินไทย


ช่องทางติดตามผลงาน


Facebook: Phaka Tip


Blog :Happiness blog


Blockdit: เล่าจากใจ by พี่จิน


Tiktok: Haveavacation





ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มารู้จักเครื่องอบขนมอาลัว

  มารู้จักเครื่องอบขนมอาลัว เมื่อหลายปีก่อน สมัยที่เริ่มเข้าสู่โลกโซเชียลใหม่ ๆ เลื่อนหน้าเฟส สายตาก็ไปหยุดอยู่ที่ขนมอาลัวดอกกุหลาบสวย ๆ ผู้เขียนได้แต่มอง & สงสัยว่าเขาทำกันยังไงนะ ลำพังอาลัวธรรมดาที่เป็นรูปหยดน้ำก็พอจะเข้าใจวิธีบีบแป้ง แต่สำหรับอาลัวกุหลาบ 555 ตอนนั้นตีลังกาคิดอยู่หลายวันว่าเขาทำกันยังไงก็คิดไม่ออก เพราะไม่มีความรู้เรื่องการทำขนมเลยค่ะ กฎแรงดึงดูดทำงานตลอดเวลา เราคิดถึงสิ่งใดเราจะยิ่งเห็นสิ่งนั้น นอกจากภาพอาลัวจะมาปรากฎที่หน้าเฟสทุกครั้งแล้ว อีกไม่กี่วันต่อมาผู้เขียนก็ได้เจอคอร์สสอนทำขนมอาลัวกุหลาบ ซึ่งสมัยนั้นมีผู้สอนน้อยราย และไม่เป็นที่เผยแพร่นัก คอร์สนี้เป็นคอร์สที่ต้องไปเรียนกับผู้สอนโดยตรง ไม่ใช่คอร์สออนไลน์อย่างในปัจจุบัน ผู้เขียนจึงรีบหาเวลาไปเรียนทันที  เมื่อไปเรียนแล้ว บอกเลยว่าไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่ายนัก ที่่ว่าไม่ยากนั่นคือ อาลัวเป็นขนมที่มีส่วนผสมน้อยชนิดและมีวิธีทำที่แสนจะธรรมดา ขอแค่ใส่ใจและมีเทคนิิคเล็กน้อย แต่ที่บอกว่าไม่ง่ายนั่นก็คือ จะทำอย่างไรให้ขนมแห้ง กรอบและมีสีสวยน่ากินนี่สิ ดั้งเดิมนั้น อาลัวเป็นขนมที่มีมาตั้งแต่ครั้งสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ครั้งแรกกับการปรึกษาแพทย์ทางโทรศัพท์ รพ.จุฬาภรณ์ หลักสี่

ครั้งแรกกับการปรึกษาแพทย์ทางโทรศัพท์ รพ.จุฬาภรณ์ หลักสี่ Pixabay ทุกคนต้องมีครั้งแรกใช่ไหมคะ  การระบาดของ Covid-19 ระลอกใหม่ในครั้งนี้ ก็ทำให้ผู้เขียนมีประสบการณ์ ครั้งแรกกับการปรึกษาแพทย์ทางโทรศัพท์ เช่นกันค่ะ เนื่องจากในวันที่ 6 ม.ค. 2564 ผู้เขียนมีนัดพบคุณหมอที่แผนกอายุรกรรม รพ.จุฬาภรณ์ หลักสี่ ซึ่งเป็นการนัดเพื่อรับยาตามปกติ (เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่นตอนปลาย….ก็มักจะมีโรคประจำตัวเล็ก ๆ น้อย ๆ บ้างเป็นธรรมดา จริงไหมคะ) เมื่อมีสถานการณ์ Covid-19 ที่ทุกคนต้องดูแลตนเอง เพราะไม่รู้ว่าเราจะไปใกล้ชิดคนที่มีเชื้อเมื่อไหร่ ผู้เขียนก็รู้สึกกังวลว่าเราจะไปดีมั้ย จะเสี่ยงหรือไม่ เพราะการไปรพ. ก็เป็นจุดที่ต้องเพิ่มความระมัดระวัง แต่ยาประจำตัวก็จะหมด ถ้าไม่ไปรพ. แล้วจะเอายาที่ไหนกินล่ะทีนี้   ขณะที่กำลังชั่งใจอยู่นั้น ก่อนวันนัด 2 วัน คือวันที่ 4 ม.ค. ทางโรงพยาบาลก็โทรมา โดยคุณพยาบาลโทรมาแจ้งว่า ผู้เขียนมีนัดพบคุณหมอในวันที่ 6 นี้ แต่ด้วยสถานการณ์ Civid-19 คนไข้จะมาพบคุณหมอตามนัดหรือจะให้คุณหมอโทรพูดคุยปรึกษาอาการทางโทรศัพท์ดีคะ และหากคุณหมอสั่งยา ทางรพ.จะส่งยาให้ทางไปรษณีย์ ไม่ต้องกังวล โอ้โฮ…

อย่ามองว่าเป็นแค่กาฝาก

อย่ามองว่าเป็นแค่กาฝาก อย่างที่เคยเขียนเกี่ยวกับต้นทับทิมว่าเป็นต้นไม้มงคล ทับทิมไม้มงคลความหมายดี ผู้เขียนจึงปลูกต้นทับทิมไว้ที่หน้าบ้าน ซึ่งต้นสูงเลยรั้วบ้านแล้ว เมื่อหลายเดือนก่อนขณะรดน้ำต้นไม้ ผู้เขียนสังเกตเห็นกาฝาก วิกิพีเดีย กาฝาก กิ่งเล็ก ๆ เกาะอยู่บนยอดทับทิม แต่ก็มองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยก็แค่กาฝาก และต้นทับทิมก็สูงมาก ถ้าจะตัดกาฝากออกต้องปีนบันไดขึ้นไป อย่างนั้นเอาไว้ก่อนละกัน  จากนั้นไม่กี่เดือนต่อมา สังเกตว่าต้นทับทิมที่เคยมีใบเขียวสดชื่น กลับแห้งเหี่ยว ส่วนเจ้ากาฝากกลับมีกิ่งก้านและรากที่โตขึ้นมาก ยึดเกาะกิ่งทับทิมอย่างแน่นหนา เจ้ากาฝากดูดอาหารจากต้นทับทิมนี่เองทำให้ทับทิมเหี่ยวแห้ง ถ้าปล่อยให้ต้นทับทิมยืนแห้งอยู่หน้าบ้านแบบนี้ไม่ดีแน่ มองแล้วหดหู่ดูไม่สดชื่น ผู้เขียนจึงคิดว่าควรตัดออกทั้งต้น แต่เครื่องมือมีเพียงกรรไกรตัดกิ่งไม้กับใบเลื่อยเล็ก ๆ เท่านั้น   แม้เครื่องมือไม่พร้อมแต่ใจพร้อมลุยเลยละกัน แล้วปฏิบัติการเคลียร์คืนความสดชื่นก็เริ่มขึ้น โดยการปีนบันไดขึ้นไปตัดกิ่งที่สามารถตัดได้ก่อน กว่าจะตัดเสร็จเล่นเอามือระบม เพราะกิ่งทับทิมแข็งมีหนามแหลมคม กรรไกรก็เล็กเกิน ถ้าไ