ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

3 ช่องพอดคาสต์ (Podcast) เรื่องอาหาร ที่อยากชวนให้คุณฟัง

 3 ช่องพอดคาสต์ (Podcast) เรื่องอาหาร ที่อยากชวนให้คุณฟัง

ภาพที่ 1 : โดยผู้เขียน

เมื่อพูดถึงพอดคาสต์ (Podcast) เพื่อน ๆ บางคนอาจยังไม่รู้จัก ไม่เคยได้ยินและกำลังสงสัยว่าอะไรคือพอดคาสต์ใช่ไหมคะ? พอดคาสต์คือช่องวิทยุออนไลน์ รายการพอดคาสต์เป็นรายการที่มีแต่เสียงพูดเหมือนรายการวิทยุทั่วไป เราเปิดฟังรายการพอดคาสต์ในแอปพลิเคชั่น Youtube, Podbean, Spotify, Apple Podcasts ฯลฯ

ผู้เขียนเองก็เพิ่งรู้จักพอดคาสต์ (Podcast) เมื่อไม่นานมานี้ พอได้ลองฟังจึงรู้ว่าเป็นสื่อที่มีประโยชน์มากมาย และรู้สึกขอบคุณผู้ที่คิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับชีวิตของเรา

พอดคาสต์ (Podcast) มีรายการมากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหารการกิน ท่องเที่ยว สุขภาพ ความงาม กีฬา ฯลฯ สามารถเลือกฟังตามที่เราชอบได้เลยค่ะ

การฟังพอดคาสต์ (Podcast) ฟังได้ทุกที่ทุกเวลา ผู้เขียนชอบเปิดฟังเวลาทำงาน มือทำงาน หูก็ฟังเรื่องที่เราสนใจจากพอดคาสต์ (Podcast) ช่วยประหยัดเวลาค่ะ

สำหรับเพื่อน ๆ ที่ยังไม่คุ้นเคยกับการฟังพอดคาสต์ ไม่รู้จะเริ่มฟังรายการไหนดี  วันนี้ผู้เขียนขอแนะนำรายการพอดพาสต์ที่น่าสนใจมาให้เพื่อน ๆ ดูเป็นตัวอย่างสัก 3 รายการนะคะ

🍒 ช่อง KRUA.CO Podcast รายการ "Quick Meal"

ภาพที่ 2 ภาพแคปสกรีนจากหน้าจอมือถือ

รายการ "Quick Meal" เป็นรายการที่นำเสนอนานาสาระและเล่าเรื่องเกี่ยวกับอาหาร เกร็ดความรู้ต่าง ๆ โดยใช้เวลาสั้น ๆ ประมาณคลิปละ 2 - 4 นาที อาจมีบางคลิปที่ยาวกว่านั้น 

เปิดรายการโดยมีเสียงไตเติ้ลพร้อมดนตรีนำเข้ารายการ จากนั้นจะตามด้วยประเด็นคำถามที่หลายคนสงสัยหรือเคยได้ยินมานานแต่ยังไม่แน่ชัดเรื่องคำตอบ เช่น EP. 20 "ฟังเสียงเคี้ยวอาหารก่อนนอนช่วยให้หลับสบาย" EP. 21 "ซูชิจากแดนอาทิตย์อุทัย มีต้นกำเนิดจากไทยจริงหรือ" และรายการล่าสุดที่เพิ่งออกอากาศเมื่อ 6 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา Ep. 22 "เนื้อขาวดีต่อสุขภาพมากกว่าเนื้อแดงจริงหรือ" ทุกคำถามชวนให้เราสงสัยจนต้องหยุดฟัง และเราจะได้คำตอบในเวลาสั้น ๆ ปัจจุบันจะลงคลิปใหม่วันเว้นวันค่ะ

ภาพที่ 3 ภาพแคปสกรีนจากหน้าจอมือถือ

🍒  ช่อง โรงอาหาร Podcast  ช่องนี้มีหลายรายการ แต่ที่นำมาเสนอคือ รายการ "จานโอชา"

ภาพที่ 4 ภาพแคปสกรีนจากหน้าจอมือถือ

รายการ "จานโอชา" เปิดรายการด้วยเสียงดนตรีที่ฟังแล้วทำให้รู้สึกกระฉับกระเฉง เป็นการจัดรายการพูดคุยแบบสบาย ๆ ดำเนินรายการโดยคุณทัช ชายหนุ่มเสียงนุ่มทุ้ม มาพูดคุยให้ฟังเรื่องอาหารและสารพันเรื่องเกี่ยวกับอาหาร ลงคลิปรายการใหม่ทุกวันจันทร์ ระยะเวลาของรายการประมาณ 20 - 40 นาที อาจจะมีบางวันที่จัดรายการนานกว่านั้น ฟังแล้วเพลินค่ะ เหมือนคุณทัชเป็นเพื่อนมาคุยให้เราฟัง ฟังสบาย ๆ ค่ะ เช่น EP.3 "ผักชี…ใคร ๆ ก็ (แค่) โรยหน้า EP.5 ปาอะไร ท่องโก๋? ตอนนี้ดำเนินรายการมาถึง EP. 8 "ทำไม่เป็น...เก่งแต่ดู" หลังจาก EP. 8 อาจจะมีการปรับเปลี่ยนหรือติดภารกิจบางอย่าง ทำให้คุณทัชไม่ได้มาจัดรายการจานโอชา เชื่อว่าเมื่อทุกอย่างเข้าที่ คุณทัชจะกลับมาดำเนินรายการต่อ เพื่อน ๆ ลองไปฟังย้อนหลังได้นะคะ

ภาพที่ 5 ภาพแคปสกรีนจากหน้าจอมือถือ

🍒 ช่อง The Cloud Podcast รายการ "ออกรส"

ภาพที่ 6 ภาพแคปสกรีนจากหน้าจอมือถือ


รายการ "ออกรส" ดำเนินรายการโดย เชฟแวน คุณเฉลิมพล โรหิตรัตนะ และเชฟแบล๊ก ภาณุภน บุลสุวรรณ ทั้ง 2 ท่านนี้เป็นเชฟผู้มากประสบการณ์ รูปแบบรายการ คือ ทั้ง 2 เชฟมาพูดคุยให้เราฟัง วิเคราะห์ หยอกล้อ เล่าประสบการณ์เรื่องอาหารรวมทั้งทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอาหาร เช่น เกร็ด เคล็ดลับ อุปกรณ์ เครื่องมือ ฯลฯ เวลาของรายการจะอยู่ในช่วง 30 - 50 นาที ฟังแล้วสนุกและเพลินมาก จบรายการโดยไม่รู้ตัวค่ะ รายการใหม่จะออกอากาศทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13:00 น. ทุกเรื่องที่นำมาคุยจะเข้ากับเหตุการณ์และเป็นความรู้สำหรับผู้ฟังอย่างแน่นอน เช่น 

EP.03  การปรับตัวของร้านอาหารหลัง COVID -19

EP.25 "รอยสักมีผลกับอาชีพเชฟไหม"

ตอนนี้ดำเนินรายการมาถึง EP. 29 "Emotional Food อาหารที่มีผลต่อใจ" 


รายการ "ออกรส" ทำให้ผู้ฟังได้รับความรู้หลากหลาย มีประโยชน์ต่อทุกคน โดยเฉพาะผู้ประกอบการร้านอาหาร ผู้ที่คิดจะทำร้านอาหาร ผู้ที่เป็นลูกค้า รวมทั้งคนทั่วไปที่ทำอาหารกินเอง


เกือบลืมค่ะ จุดเด่นอีกอย่างของรายการ "ออกรส" คือ เสียงไตเติ้ลก่อนเข้ารายการ เป็นเสียงมีดหั่นอาหาร เสียงน้ำ เสียงดนตรี และเสียงแนะนำตัวของทั้ง 2 เชฟ ฟังแล้วสนุกสนาน บ่งบอกถึงบุคลิกของรายการ ชวนให้ติดตามเลยค่ะ


ภาพที่ 7 ภาพแคปสกรีนจากหน้าจอมือถือ


จะเห็นได้ว่าทั้ง 3 รายการเป็นเรื่องเกี่ยวกับอาหารเหมือนกัน แต่ลักษณะการดำเนินรายการ วิธีการพูดคุย รวมทั้งระยะเวลาของรายการต่างกัน เรียกได้ว่า 3 รายการ 3 สไตล์ เพื่อน ๆ ลองฟังดูนะคะ

ว่าจะชอบรายการสไตล์ไหน


ปัจจุบันนี้ พอดคาสต์ (Podcast) ถือว่าเป็นสื่อที่น่าสนใจมาก หากเพื่อน ๆ ลองเข้ามาฟังแล้วจะพบว่ามีสาระความรู้ดี ๆ รวมทั้งความบันเทิงมากมาย สำหรับคนที่ไม่เคยฟังอาจจะไม่คุ้นเคยในช่วงแรก (ผู้เขียนประสบมาแล้ว) แต่เมื่อผ่านไปสักพัก เราจะใช้พอดคาสต์ได้อย่างคล่องตัวค่ะ


หวังว่าพอดคาสต์ทั้ง 3 รายการที่นำมาแนะนำ จะเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่ช่วยให้เพื่อน ๆ เพลิดเพลินและได้รับประโยชน์จากการฟังพอดคาสต์นะคะ



ขอบคุณทุกการติดตามและกำลังใจ


เกี่ยวกับผู้เขียน

รักการทำงานต้นไม้ดอกไม้ดินไทย

รักงานเขียน


ช่องทางติดตามผลงานอื่น ๆ 


Blog : 5 ช่องยูทูปสอนทำขนมขี้หนูที่น่าสนใจ


Blog : A Peace of Chef ช่องยูทูปที่ตอบโจทย์คนกินมังสวิรัติ เจ วีแกน


Blog: จิบกาแฟแลงานศิลป์ที่ The Art House Cafe เรือนศิลป์แสนขัติยรัตน์


Blog : มารู้จักเครื่องอบอาลัว


Blockdit : วิธีทำขนมสัมปันนี


Phaka Tip สอนปั้นจำปีจำปาจากดินไทย


Phaka Tip : มารู้จักดินไทย ดินญี่ปุ่นกันค่ะ


เพจ: Crafts from Clay


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มารู้จักเครื่องอบขนมอาลัว

  มารู้จักเครื่องอบขนมอาลัว เมื่อหลายปีก่อน สมัยที่เริ่มเข้าสู่โลกโซเชียลใหม่ ๆ เลื่อนหน้าเฟส สายตาก็ไปหยุดอยู่ที่ขนมอาลัวดอกกุหลาบสวย ๆ ผู้เขียนได้แต่มอง & สงสัยว่าเขาทำกันยังไงนะ ลำพังอาลัวธรรมดาที่เป็นรูปหยดน้ำก็พอจะเข้าใจวิธีบีบแป้ง แต่สำหรับอาลัวกุหลาบ 555 ตอนนั้นตีลังกาคิดอยู่หลายวันว่าเขาทำกันยังไงก็คิดไม่ออก เพราะไม่มีความรู้เรื่องการทำขนมเลยค่ะ กฎแรงดึงดูดทำงานตลอดเวลา เราคิดถึงสิ่งใดเราจะยิ่งเห็นสิ่งนั้น นอกจากภาพอาลัวจะมาปรากฎที่หน้าเฟสทุกครั้งแล้ว อีกไม่กี่วันต่อมาผู้เขียนก็ได้เจอคอร์สสอนทำขนมอาลัวกุหลาบ ซึ่งสมัยนั้นมีผู้สอนน้อยราย และไม่เป็นที่เผยแพร่นัก คอร์สนี้เป็นคอร์สที่ต้องไปเรียนกับผู้สอนโดยตรง ไม่ใช่คอร์สออนไลน์อย่างในปัจจุบัน ผู้เขียนจึงรีบหาเวลาไปเรียนทันที  เมื่อไปเรียนแล้ว บอกเลยว่าไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่ายนัก ที่่ว่าไม่ยากนั่นคือ อาลัวเป็นขนมที่มีส่วนผสมน้อยชนิดและมีวิธีทำที่แสนจะธรรมดา ขอแค่ใส่ใจและมีเทคนิิคเล็กน้อย แต่ที่บอกว่าไม่ง่ายนั่นก็คือ จะทำอย่างไรให้ขนมแห้ง กรอบและมีสีสวยน่ากินนี่สิ ดั้งเดิมนั้น อาลัวเป็นขนมที่มีมาตั้งแต่ครั้งสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ครั้งแรกกับการปรึกษาแพทย์ทางโทรศัพท์ รพ.จุฬาภรณ์ หลักสี่

ครั้งแรกกับการปรึกษาแพทย์ทางโทรศัพท์ รพ.จุฬาภรณ์ หลักสี่ Pixabay ทุกคนต้องมีครั้งแรกใช่ไหมคะ  การระบาดของ Covid-19 ระลอกใหม่ในครั้งนี้ ก็ทำให้ผู้เขียนมีประสบการณ์ ครั้งแรกกับการปรึกษาแพทย์ทางโทรศัพท์ เช่นกันค่ะ เนื่องจากในวันที่ 6 ม.ค. 2564 ผู้เขียนมีนัดพบคุณหมอที่แผนกอายุรกรรม รพ.จุฬาภรณ์ หลักสี่ ซึ่งเป็นการนัดเพื่อรับยาตามปกติ (เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่นตอนปลาย….ก็มักจะมีโรคประจำตัวเล็ก ๆ น้อย ๆ บ้างเป็นธรรมดา จริงไหมคะ) เมื่อมีสถานการณ์ Covid-19 ที่ทุกคนต้องดูแลตนเอง เพราะไม่รู้ว่าเราจะไปใกล้ชิดคนที่มีเชื้อเมื่อไหร่ ผู้เขียนก็รู้สึกกังวลว่าเราจะไปดีมั้ย จะเสี่ยงหรือไม่ เพราะการไปรพ. ก็เป็นจุดที่ต้องเพิ่มความระมัดระวัง แต่ยาประจำตัวก็จะหมด ถ้าไม่ไปรพ. แล้วจะเอายาที่ไหนกินล่ะทีนี้   ขณะที่กำลังชั่งใจอยู่นั้น ก่อนวันนัด 2 วัน คือวันที่ 4 ม.ค. ทางโรงพยาบาลก็โทรมา โดยคุณพยาบาลโทรมาแจ้งว่า ผู้เขียนมีนัดพบคุณหมอในวันที่ 6 นี้ แต่ด้วยสถานการณ์ Civid-19 คนไข้จะมาพบคุณหมอตามนัดหรือจะให้คุณหมอโทรพูดคุยปรึกษาอาการทางโทรศัพท์ดีคะ และหากคุณหมอสั่งยา ทางรพ.จะส่งยาให้ทางไปรษณีย์ ไม่ต้องกังวล โอ้โฮ…

อย่ามองว่าเป็นแค่กาฝาก

อย่ามองว่าเป็นแค่กาฝาก อย่างที่เคยเขียนเกี่ยวกับต้นทับทิมว่าเป็นต้นไม้มงคล ทับทิมไม้มงคลความหมายดี ผู้เขียนจึงปลูกต้นทับทิมไว้ที่หน้าบ้าน ซึ่งต้นสูงเลยรั้วบ้านแล้ว เมื่อหลายเดือนก่อนขณะรดน้ำต้นไม้ ผู้เขียนสังเกตเห็นกาฝาก วิกิพีเดีย กาฝาก กิ่งเล็ก ๆ เกาะอยู่บนยอดทับทิม แต่ก็มองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยก็แค่กาฝาก และต้นทับทิมก็สูงมาก ถ้าจะตัดกาฝากออกต้องปีนบันไดขึ้นไป อย่างนั้นเอาไว้ก่อนละกัน  จากนั้นไม่กี่เดือนต่อมา สังเกตว่าต้นทับทิมที่เคยมีใบเขียวสดชื่น กลับแห้งเหี่ยว ส่วนเจ้ากาฝากกลับมีกิ่งก้านและรากที่โตขึ้นมาก ยึดเกาะกิ่งทับทิมอย่างแน่นหนา เจ้ากาฝากดูดอาหารจากต้นทับทิมนี่เองทำให้ทับทิมเหี่ยวแห้ง ถ้าปล่อยให้ต้นทับทิมยืนแห้งอยู่หน้าบ้านแบบนี้ไม่ดีแน่ มองแล้วหดหู่ดูไม่สดชื่น ผู้เขียนจึงคิดว่าควรตัดออกทั้งต้น แต่เครื่องมือมีเพียงกรรไกรตัดกิ่งไม้กับใบเลื่อยเล็ก ๆ เท่านั้น   แม้เครื่องมือไม่พร้อมแต่ใจพร้อมลุยเลยละกัน แล้วปฏิบัติการเคลียร์คืนความสดชื่นก็เริ่มขึ้น โดยการปีนบันไดขึ้นไปตัดกิ่งที่สามารถตัดได้ก่อน กว่าจะตัดเสร็จเล่นเอามือระบม เพราะกิ่งทับทิมแข็งมีหนามแหลมคม กรรไกรก็เล็กเกิน ถ้าไ